Forgot your password? Create an account
  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
News

Stockwave Online กระแสหุ้นออนไลน์ หุ้น หลักทรัพย์ การเงิน ข่าวเศรษฐกิจ

Home Economic View สรุปประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินรายวัน - ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย
สรุปประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินรายวัน - ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย PDF Print E-mail
Wednesday, 15 November 2017 10:13

Snapshot

 

สหรัฐอเมริกา

นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ระบุว่า การที่เฟดทำการชี้นำทิศทางนโยบายในอนาคตนั้น เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่ก็ควรดำเนินการอย่างมีเงื่อนไข โดยขึ้นอยู่กับการปรับตัวของเศรษฐกิจในขณะนั้นทั้งนี้ นางเยลเลนขึ้นกล่าวในเวทีเสวนาซึ่งจัดโดยธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี ภายใต้หัวข้อ "Communication challenges for policy effectiveness, accountability and reputation" ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมการเสวนา ได้แก่ นางเยลเลนในฐานะประธานเฟด นายมาริโอ ดรากี ประธาน ECB นายมาร์ค คาร์นีย์ ประธานธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)

สำนักพลังงานสากล (IEA) ประกาศปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันในปีนี้ และปีหน้า โดยระบุถึงความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลง ขณะที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปกทำการเพิ่มการผลิต ทั้งนี้ IEA ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันราว 100,000 บาร์เรล/วันในปีนี้ และปีหน้า สู่ระดับ 1.5 ล้านบาร์เรล/วัน และ 1.3 ล้านบาร์เรล/วันตามลำดับ ซึ่ง IEA ระบุว่า อุณหภูมิที่อบอุ่นขึ้นจะทำให้มีการลดการใช้น้ำมัน ขณะที่การเพิ่มการผลิตจากประเทศนอกกลุ่มโอเปกจะส่งผลให้ตลาดน้ำมันกลับสู่ภาวะน้ำมันล้นตลาดในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า ทั้งนี้ รายงานของ IEA ดังกล่าวสวนทางกับรายงานของกลุ่มโอเปกในวันก่อน ซึ่งได้ทำการปรับเพิ่มคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันราว 130,000 บาร์เรล/วัน

หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์สรายงานว่า นายโรเบิร์ต แคปแลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาดัลลัส กำลังพิจารณาสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเฟดเดือนหน้า โดย นายแคปแลนกล่าวว่า "อดีตที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ถ้าเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างมาก เฟดก็จำเป็นที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้ตามทันการปรับตัวของเศรษฐกิจ" ทั้งนี้ ประธานเฟดสาขาดัลลัส ยังกล่าวว่า อัตราการว่างงานที่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ ซึ่งแตะระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปีในเดือนต.ค. จำเป็นต้องได้รับการจับตาอย่างระมัดระวัง

ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)ในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 0.4% เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% เช่นกันในเดือนกันยายน โดยรับแรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของราคาในภาคบริการ และเมื่อเทียบรายปี ดัชนี PPI เพิ่มขึ้น 2.8% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2555 หลังจากเพิ่มขึ้น 2.6% ในเดือนก.ย. นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า ดัชนี PPI ปรับตัวขึ้น 0.1% เมื่อเทียบรายเดือน และเพิ่มขึ้น 2.4% เมื่อเทียบรายปี ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหาร,พลังงาน และภาคบริการ เพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบรายเดือน โดยได้เพิ่มขึ้น 0.2% เป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกัน เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PPI พื้นฐาน เพิ่มขึ้น 2.3% หลังจากดีดตัวขึ้น 2.1% ในเดือนก่อน

 

ยุโรป:

มาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า การส่งสัญญาณชี้นำล่วงหน้าสำหรับนโยบายการเงินในอนาคตได้ประสบความสำเร็จในการผลักดันการคาดการณ์ของตลาด และขณะนี้มาตรการชี้นำล่วงหน้าดังกล่าวได้ถือเป็นเครื่องมือด้านนโยบายที่มีความสำคัญ คำแถลงดังกล่าวมีขึ้นในเวทีเสวนา ซึ่งจัดโดย ECB ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี ภายใต้หัวข้อ "Communication challenges for policy effectiveness, accountability and reputation" ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมการเสวนา ได้แก่ นายดรากีในฐานะประธาน ECB นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นายมาร์ค คาร์นีย์ ประธานธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)

สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจยูโรโซนมีการขยายตัว 0.6% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบรายไตรมาส และต่ำกว่าระดับ 0.7% ในไตรมาส 2 ขณะที่เมื่อเทียบรายปี เศรษฐกิจยูโรโซนมีการขยายตัว 2.5% ในไตรมาส 3 และสูงกว่าระดับ 2.3% ในไตรมาส โดยเยอรมนีขยายตัว 2.8% (YoY) จาก 2.3% (YoY) ทั้งนี้อัตรา 2.8% ต่อปีนี้ถือเป็นอัตราที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2014 ส่วนฝรั่งเศสขยายตัว 2.2% (YoY) จาก 1.8% (YoY)

 

อังกฤษ

สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อ ในเดือนตุลาคมขยายตัวที่ระดับ 3.0% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีครึ่ง แต่ปรับตัวต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 3.1% ดัชนีได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร ขณะที่ราคาพลังงานได้ปรับตัวลง

 

เอเชีย :จีน

การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีนชะลอการเติบโตลง โดยเติบโตเพียง 7.3% ในเดือนม.ค.-ต.ค. ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 7.4% การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของภาคเอกชนเติบโต 5.8% ในเดือนม.ค.-ต.ค. โดยชะลอตัวลงจากอัตราการเติบโตในเดือนม.ค.-ก.ย.นอกจากนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนรายงานว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเติบโต 6.2% ในเดือนต.ค.ปีนี้เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 6.3% และเทียบกับอัตราการเติบโตในเดือนก.ย.ที่ 6.6%  ยอดค้าปลีกปรับขึ้น 10.0% ต่อปีในเดือนต.ค. ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 10.4% และต่ำกว่าอัตราการเติบโตที่ 10.3% ต่อปีในเดือนก.ย.รัฐบาลจีนตั้งเป้าหมายให้เศรษฐกิจเติบโตราว 6.5% ในปีนี้ หลังจากเติบโต 6.7% ในปี 2016 โดยเศรษฐกิจจีนเติบโตเกือบ 6.9% ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวในภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผลจากการลงทุนของรัฐบาลในด้านโครงสร้างพื้นฐาน, ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่รักษาความแข็งแกร่งได้ดี และยอดส่งออกที่แข็งแกร่งเกินคาด อย่างไรก็ดี กิจกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์และกิจกรรมด้านก่อสร้างเริ่มชะลอตัวลง โดยได้รับแรงกดดันจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น และจากมาตรการของรัฐบาลในการลดความร้อนแรงในตลาดที่อยู่อาศัย และมาตรการควบคุมมลพิษทางอุตสาหกรรม หลังจากที่กิจกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างเคยเป็นปัจจัยหลักที่หนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา

กระทรวงพาณิชย์ของจีนเปิดเผยว่า การลงทุนโดยตรงของต่างชาติ (FDI) ในจีนเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ 6.012 หมื่นล้านหยวน (9.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในเดือนต.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 17.3% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนก.ย. กระทรวงพาณิชย์จีนระบุในแถลงการณ์บนเว็บไซท์ของทางกระทรวงว่า FDI ในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค.เพิ่มขึ้น 1.9% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วสู่ 6.787 แสนล้านหยวน

 

ญี่ปุ่น

รอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ โดยระบุว่าค่าแรงในญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับขึ้น 2.0-2.5 % ในการเจรจาต่อรองประจำปีในฤดูใบไม้ผลิปีหน้า ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย 3 % ที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะตั้งไว้ รัฐบาลของนายอาเบะกำลังพิจารณามาตรการจูงใจทางภาษีและมาตรการอื่นๆ เพื่อกระตุ้นให้บริษัทญี่ปุ่นปรับขึ้นค่าแรง 3 % โดยรัฐบาลตั้งความหวังว่า การปรับขึ้นค่าแรงจะกระตุ้นให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้น และปัจจัยนี้จะช่วยหนุนอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นให้พุ่งขึ้นจากระดับต่ำ

 

Money Market

- ดอลลาร์/บาท วันอังคาร (14 พย.) เงินบาทอ่อนค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงเช้าวันนี้หลังจากที่บาทแข็งค่าเมื่อวานนี้เนื่องจากช่วงนี้นักลงทุนยังกังวลต่อเนื่องเกี่ยวกับเรื่องแผนการปฎิรูปภาษีของรัฐบาลสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีแนวโน้มชัดเจนขึ้นในการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในเดือนธันวาคมนี้ แต่เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯในระยะยาวส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ช่วงนี้ถูกกดดันต่อเนื่อง ส่งผลให้ท้ายตลาดเงินบาทแข็งค่า สอดคล้องกับค่าเงินอื่นๆในเอเชียวันนี้ที่ส่วนใหญ่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ

- ดอลลาร์/เยน วันอังคาร (14 พย.) เงินเยนอ่อนค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงเช้าวันนี้ต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้ อย่างไรก็ดีการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯกเป็นไปอย่างจำกัดเนื่องจากปัจจัยเรื่องความไม่มั่นใจว่าแผนการปฏิรูปภาษีของรัฐบาลสหรัฐฯจะประสบความสำเร็จยังคงกดดันค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

- ยูโร/ดอลลาร์ วันอังคาร (14 พย.) เงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้ ขณะที่วันนี้ Eurostat รายงานว่าเศรษฐกิจยูโรโซนไตรมาสที่สามขยายตัว 2.5% (YoY) หลังจากขยายตัว 2.3% (YoY) ในไตรมาสก่อน โดยเยอรมนีขยายตัว 2.8% (YoY) จาก 2.3% (YoY) ทั้งนี้อัตรา 2.8% ต่อปีนี้ถือเป็นอัตราที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2014 ส่วนฝรั่งเศสขยายตัว 2.2% (YoY) จาก 1.8% (YoY)

 

Capital Market

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ วันอังคาร (14 พย.) ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับตัวลงในวันอังคาร โดยหุ้นเจเนอรัล อิเล็กทริก (GE) ลดลงเป็นวันที่สองติดต่อกัน หลังนักลงทุนไม่แน่ใจเกี่ยวกับแผนการของซีอีโอคนใหม่ในการปรับปรุงบริษัท และการลดลงของราคาน้ำมันดิบได้ส่งผลต่อหุ้นในกลุ่มพลังงานให้ลดลงอีกด้วย ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลบ 0.13% สู่ระดับ 23,409.47, ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 0.23% สู่ระดับ 2,578.87 และดัชนี Nasdaq ปิดปรับตัวลง 0.29% สู่ระดับ 6,737.87

- ตลาดหุ้นเอเซีย วันอังคาร (14พย.) ดัชนีนิกเกอิปิดลดลง 0.98 จุด สู่ระดับ 22,380.01 ในวันนี้ หลังจากแกว่งตัวผันผวนในระหว่างวัน โดยหุ้นกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์เพิ่มขึ้น แต่หุ้นบริษัทการเงินลดลง โดยได้รับแรงกดดันจากกำไรที่ลดลง ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดลดลง 0.52% สู่ระดับ 3,429.97 หลังการเปิดเผยข้อมูลบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงในเดือนที่ผ่านมา และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจีนยังคงปรับตัวขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงสภาพคล่องที่ตึงตัว

- ตลาดหุ้นไทย วันอังคาร ( 14 พย.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากลดลงติดต่อกันสามวันทำการก่อนหน้านี้ โดยวันนี้มีแรงซื้อมากในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ปิโตรเคมี พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พาณิชย์ โดยปิดตลาดวันนี้ SET INDEX เพิ่มขึ้น 15.58 จุด

 

โดย สำนักวิจัยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประจำวันที่ 15 พ.ย. 2560

Comments

B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment
 
 

Login

Forgot your password? Create an account
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday42423
mod_vvisit_counterYesterday52922
mod_vvisit_counterAll days166395294

We have: 815 guests online
Your IP: 3.237.232.196
 , 
Today: Mar 29, 2024

8890912