Forgot your password? Create an account
  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
News

Stockwave Online กระแสหุ้นออนไลน์ หุ้น หลักทรัพย์ การเงิน ข่าวเศรษฐกิจ

Home Hot News แนะ 4 แนวทางป้องกัน รับมือเหตุแผ่นดินไหวในอาคาร
แนะ 4 แนวทางป้องกัน รับมือเหตุแผ่นดินไหวในอาคาร PDF Print E-mail
Saturday, 29 March 2025 20:44

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในวันที่ 28 มีนาคม ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกและความเสียหายต่ออาคารและที่อยู่อาศัยในหลายพื้นที่ นายภคิน เอกอธิคม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคาร บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ได้ให้ข้อแนะนำในการจัดการเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวภายในอาคาร เพื่อช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สิน

ความสำคัญของการเตรียมความพร้อมและการดำเนินการที่ถูกต้องตามขั้นตอนดังนี้

1. เตรียมแผนอพยพให้พร้อม และฝึกซ้อมเป็นประจำ การเตรียมแผนอพยพที่ชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันทีในกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยแผนดังกล่าวควรครอบคลุมการประสานงานของทีมอาคารและการอพยพของผู้อยู่อาศัยภายในอาคาร ควรมีการฝึกซ้อมแผนอพยพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และมีการซ้อมย่อยทุก 3-6 เดือน เพื่อให้ทุกคนคุ้นเคยกับขั้นตอนและสามารถปฏิบัติได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง

2. ปฏิบัติตามแผนอพยพเมื่อเกิดแผ่นดินไหว หากเกิดเหตุแผ่นดินไหวและผู้คนในอาคารรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนที่รุนแรงและต่อเนื่อง หรือมีอาการเวียนหัวและสิ่งของหล่นหรือสั่นสะเทือน ควรปฏิบัติตามแผนอพยพทันที โดยใช้การประกาศเสียงตามสายหรือสัญญาณเตือนภัย เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในอาคารอพยพไปยังจุดรวมพลที่ปลอดภัย ซึ่งควรตั้งอยู่ห่างจากตัวอาคารในระยะที่มากกว่าความสูงของอาคาร เพื่อความปลอดภัยในกรณีที่เกิดเหตุอาคารถล่ม

3. การตรวจสอบความปลอดภัยและติดตามข้อมูล

หลังจากการอพยพเรียบร้อยแล้ว ต้องมีการตรวจสอบรายชื่อหรือจำนวนผู้อยู่อาศัยภายในอาคารเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีใครตกหล่น ก่อนจะติดตามข้อมูลจากหน่วยงานราชการหรือศูนย์แจ้งเตือนภัยพิบัติ รวมถึงกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อตรวจสอบว่ามีโอกาสเกิด Aftershock หรือไม่

4. การตรวจสอบความเสียหายภายในอาคารเมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ช่างอาคารจะต้องทำการตรวจสอบความเสียหายในสองส่วนหลัก ได้แก่

o โครงสร้างของอาคาร โดยเฉพาะเสา คาน และส่วนอื่นๆ ที่อาจได้รับความเสียหายจากแรงสั่นสะเทือน หากพบรอยร้าวหรือความเสียหายที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของอาคาร ควรให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินเพิ่มเติม และห้ามไม่ให้มีผู้คนเข้าไปในบริเวณอาคารเพื่อความปลอดภัย

o ระบบประกอบอาคาร เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ ท่อน้ำใช้ และท่อน้ำทิ้ง โดยตรวจสอบว่ามีการชำรุดหรือรั่วซึมหรือไม่ หากไม่มีความเสียหายร้ายแรง อาคารสามารถใช้งานต่อได้ตามปกติ ก็สามารถเปิดให้ผู้คนเข้าใช้งานได้

นายภคิน กล่าวเสริมว่า “การเตรียมความพร้อมทั้งในด้านแผนปฏิบัติการและการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงและปกป้องชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีอาคารสูงและจำนวนประชากรหนาแน่น การดำเนินการที่มีประสิทธิภาพสามารถสร้างความปลอดภัยและความมั่นใจให้กับผู้อยู่อาศัยได้อย่างสูงสุด”

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it

 

Comments

B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment
 
 

Login

Forgot your password? Create an account
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday931
mod_vvisit_counterAll days931

We have: 927 guests online
Your IP: 3.145.15.78
Mozilla 5.0, 
Today: Apr 02, 2025

8178312